วันเสาร์ที่ 19 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2554

เครื่องราชกกุธภัณฑ์แห่งประเทศไทย


   กกุธภัณฑ์ หรือ เครื่องราชกกุธภัณฑ์ ตามรูปศัพท์แปลว่า เครื่องใช้สำหรับพระมหากษัตริย์ กกุธภัณฑ์ เป็นคำภาษาบาลี มาจาก กกุธ แปลว่า เครื่องหมายความเป็นพระราชา + ภณฺฑ แปลว่า ของใช้; ระบุไว้ในอภิธานัปปทีปิกา คาถา ที่ 358 ว่า พระขรรค์ ฉัตร อุณหิส ฉลองพระบาท วาลวีชนี คือ มีฉัตรแทนธารพระกร
   กกุธภัณฑ์มีความสำคัญยิ่งเพราะเป็นเครื่องหมายแห่งความเป็นพระราชาธิบดี จึงเป็นสิ่งที่จะต้องนำขึ้นทูลเกล้าฯถวายในพระราชพิธีบรมราชาภิเษก เครื่องราชกกุธภัณฑ์ประกอบด้วย
   พระมหาเศวตฉัตร หรือ นพปฎลมหาเศวตฉัตร (นพ=เก้า ปฎล=ชั้น เศวต=สีขาว) เป็นฉัตรผ้าขาว 9 ชั้น มีระบาย 3 ชั้น ขลิบทอง แผ่ลวด และมียอด เป็นราชกกุธภัณฑ์ของพระมหากษัตริย์ที่สำคัญที่สุด มีที่ใช้คือ ปักที่พระแท่นราชอาสน์ราชบัลลังก์ กางกั้นเหนือพระแท่นที่บรรทม ปักพระยานมาศ และแขวนกางกั้นพระโกศทรงพระบรมศพ เป็นต้น แต่โบราณมาไทยถือเศวตฉัตร เป็นสิ่งสำคัญยิ่งกว่าสิ่งอื่นใด เศวตฉัตร หมายถึง ความเป็นพระราชามหากษัตริย์ เช่นเดียว กับมงกุฎของชาวยุโรป
   ตามประเพณีของพราหมณ์แต่เดิม เป็นเศวตฉัตร 6 ชั้น อันหมายถึงสวรรค์6ชั้นตั้งแต่ชั้นจตุมหาราชิกาจนถึงปรนิมมิตวสวัตดี ความหมายของฉัตร 9 ชั้นที่ใช้ในปัจจุบันหมายถึง ผู้ที่ชนะทั้ง 8 ทิศ ชั้นล่างสุด หมายถึงพระมหากษัตริย์ที่จะต้องทรงแบกภาระอันใหญ่หลวงในการดูแลประชาชนทั้ง 8 ทิศ
ปัจจุบัน มีพระมหาเศวตฉัตรแห่งรัชกาลปัจจุบัน อยู่จำนวน ๗ องค์ อันได้แก่ ๑.พระที่นั่งจักรีมหาปราสาท ๒.พระที่นั่งดุสิตมหาปราสาท ๓.พระที่นั่งอมรินวินิจฉัยมไหยสูรยพิมาน๔.พระที่นั่งไพศาลทักษิณ๕.พระที่นั่งจักรรดิพิมาน๖.พระที่นั่งอนันตสมาคม
   พระมหาพิชัยมงกุฎ เป็นหนึ่งในห้าของเครื่องเบญจราชกกุธภัณฑ์อันเป็นเครื่องทรงของพระมหากษัตริย์แห่งประเทศไทยตั้งแต่สมัยโบราณจนถึงปัจจุบันเครื่องประดับพระเศียรองค์แรก สร้างขึ้นในสมัยรัชกาลที่๑ทำด้วยทองคำลงยาบริสุทธิ์ ประดับเพชรเฉพาะองค์พระมหามงกุฎไม่รวมพระกรรเจียกจอน สูง ๕๑ ซ.. ถ้ารวมพระกรรเจียกจอนสูง ๖๖ ซ.. มีน้ำหนักถึง ๗.๓ กิโลกรัม ที่ยอดประดับเพชรเม็ดใหญ่ ซึ่งรัชกาลที่๔ได้ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าโปรดกระหม่อมให้หามาจากเมืองกัลกัตตาประเทศอินเดียมาประดับที่ยอดพระมหามงกุฎ พระราชทานนามเพชรเม็ดนั้นว่า "พระมหาวิเชียรมณี"
   พระแสงขรรค์ชัยศรี เป็นพระแสงศาสตราวุธประจำองค์พระมหากษัตริย์และเป็นหนึ่งในห้าของเบญจกกุธภัณฑ์
พระขรรค์หมายถึง พระสติปัญญาความรอบรู้ในการปกครองบ้านเมือง พระแสงองค์นี้มีประวัติอันเก่าแก่ เดิมตกจมอยู่ในทะเลเขมร(Tonle sap) ที่เมืองเสียมราฐประเทศกัมพูชา วันหนึ่ง ในปี ๒๓๒๗ชาวประมงได้ทอดแหแล้วเห็นชาวประมงผู้นั้นจึงนำมาถวายเจ้าพระยาอภัยภูเบศ(แบน) เจ้าเมืองเสียมราฐและเจ้าเมืองเสียมราฐได้นำทูลเกล้าถวายพระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้า
เมื่อวันที่พระแสงองค์นี้มาถึงกรุงเทพมหานครได้เกิดฟ้าผ่าในพระนครถึง ๗ แห่ง เช่นที่ประตูวิเศษชัยศรีในพระราชฐานชั้นนอก และประตูพิมานชัยศรี ในพระราชฐานชั้นกลาง ซึ่งเป็นทางที่อัญเชิญ พระแสงองค์นี้ผ่านไป เพื่อเข้าไปในพระบรมมหาราชวัง
พระแสงขรรค์ชัยศรี เป็นพระแสงศาสตราวุธที่สำคัญที่สุด ในพระราชพิธีที่สำคัญ ได้แก่ พระราชพิธีถือน้ำพิพัฒน์สัตยาและพระราชพิธีบรมราชาภิเษก
   ธารพระกร อันเป็นหนึ่งในเครื่องเบญจราชกกุธภัณฑ์หรือเป็นไม้เท้าของพระมหากษัตริย์นั้น เดิมเรียกว่า ธารพระกรชัยพฤกษ์ เนื่องจากทำด้วยไม้ชัยพฤกษ์ หุ้มทอง หัวและส้นเป็นเหล็ก คร่ำลายทอง ใช้ในพระราชพิธีฉัตรมงคล
   พัดวาลวิชนี และ พระแส้หางจามรี เป็นเครื่องใช้ประจำองค์พระมหากษัตริย์และเป็นหนึ่งในห้าของเบญจราชกกุธภัณฑ์
พระแส้หางจามรีมีที่มาจากคำว่า "จามร" ซึ่งเป็นแส้ทำด้วยขนหางจามรีส่วนวาลวิชนี เดิมนั้นคือพัดใบตาลพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่อยู่ ทรงพระราชดำริว่า ชื่อ วาลวิชนี นั้น คำว่า"วาล" เป็นขนโคชนิดหนึ่ง ที่เรียกว่า "จามรี" จึงทรงทำแส้ขนจามรีขึ้น มีด้ามเป็นแก้ว ต่อมา ได้เปลี่ยนขนจามรีเป็นขนหางช้างเผือกแทน และใช้คู่กันกับพัดวาลวิชนี ซึ่งประดิษฐ์จากใบตาล ด้ามและลวดลายประกอบทำด้วยทองลงยา
   ฉลองพระบาทเชิงงอนเป็นสิ่งประจำองค์พระมหากษัตริย์และเป็นหนึ่งในห้าของเบญจราชกกุธภัณฑ์ของพระมหากษัตริย์ ที่ทำมาจากเกือกแก้ว ซึ่งหมายถึง ผืนแผ่นดินอันเป็นที่รองรับของเขาพระสุเมรุและเป็นที่อยู่อาศัยของ อาณาประชาราษฎร์ทั่วทั้งแว่นแคว้น ฉลองพระบาทเชิงงอนนี้พระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้สร้างขึ้นเป็นเครื่องราชกกุธภัณฑ์ ตามแบบประเพณีอินเดียโบราณ

เครดิต th.wikipedia.org

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น