ประวัติผู้แต่งโองการแช่งน้ำ
ผู้แต่งวรรณกรรมฉบับนี้ ไม่ปรากฏตัวแน่ชัดว่าเป็นผู้ใด สันนิษฐานได้แต่เพียงว่า คงเป็นพราหมณ์ในราชสำนักซึ่งมีหน้าที่จัดเรื่องพระราชพิธีต่างๆ ในช่วงระยะเวลาที่สมเด็จพระรามาธิบดีที่ 1 ครองราชย์นั่นเอง พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ทรงสันนิษฐานว่าไทยเราคงได้เรื่องนี้มาจากเมืองที่ถือลัทธิไสยศาสตร์ (เขมร) ข้อสนับสนุนพระราชวิจารณ์คือ หลักฐานศิลาจารึกเสาหินแปดเหลี่ยมภายในปราสาทนครธม
ประวัติหนังสือโองการแช่งน้ำ
ในประเทศไทยเริ่มใช้พระราชพิธีถือน้ำพิพัฒน์สัตยาอย่างเป็นทางการในสมัย สมเด็จพระรามาธิบดีที่ 1 เมื่อทรงสร้างกรุงศรีอยุธยาเป็นราชธานี และทรงกระทำพิธีราชาภิเษกเมื่อ พ.ศ.1893 พระราชพิธีได้ปฏิบัติสืบเนื่องมาจนถึงสมัยรัตนโกสินทร์ เพิ่งยกเลิกเมื่อมีการเปลี่ยนแปลงการปกครอง พ.ศ. 2475 ต่อมาใน พ.ศ.2512 ได้มีการรื้อฟื้นพระราชพิธีนี้ขึ้นอีกแต่ครั้งนี้ผู้เข้าร่วมพิธีมีจำนวน จำกัดเฉพาะผู้ที่ได้รับพระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์อันมีศักดิ์รามาธิบดี
วรรณกรรมโองการแช่งน้ำมีหลายฉบับ และเรียกแตกต่างกันหลายชื่อเช่น เรียกว่า โองการแช่งน้ำ โองการแช่งน้ำพระพัท ประกาศโองการแช่งน้ำ โองการถือน้ำพิพัฒน์ ฯลฯ แต่ในที่นี้ได้เลือกโองการแช่งน้ำฉบับที่เก่าที่สุดของไทยซึ่งเป็นกวีนิพนธ์ ชิ้นแรกในประวัติวรรณคดีไทย ใช้ชื่อตามพระราชวินิจฉัยของพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัวว่า "โองการแช่งน้ำ"
คำนำโองการแช่งน้ำ
โองการแช่งน้ำเป็นวรรณกรรมที่ใช้ในพระราชพิธีถือน้ำพิพัฒน์สัตยา ซึ่งเป็นพระราชพิธีที่ใช้แสดงความจงรักภักดีต่อพระมหากษัตริย์โดยถ้อยคำในบท แช่งน้ำจะประกอบไปด้วยการอัญเชิญเทวดาและสิ่งศักดิ์สิทธิ์ต่างๆ การสาปแช่งผู้ที่คิดคดทรยศต่อพระเจ้าแผ่นดิน และจบท้ายด้วยคำอวยพรสรรเสริญผู้ที่มีความจงรักภักดี
หน้าหนึ่ง
โอมสิทธิสรวงศรีแกล้ว แผ้วมฤตยู เอางูเปนแท่น แกว่นกลืนฟ้ากลืนดินบินเอาครุฑมาขี่ สี่มีถือสังข์จักรคธาธรณี ถีรุอวตาร อสุรแลงลาญทัก ทัคนีจรนายฯ แทงพระแสงศรปลัยวาตฯ
โอมบรเมศวราย ผายผาหลวงอคร้าว ท้าวเสด็จเหนือวัวเผือก เอาเงือกเกี้ยวข้าง อ้างทัดจันทรเปนบิ่น ทรงอินทรชฎา สามตาพระแพร่ง แกว่งเพชรกล้าฆ่าภิฆจรรไร แทงพระแสงศรอัคนิวาตฯ
โอม ไชยะไชยไขโสฬศพหมญาณ บานเศียรเกล้า เจ้าคลี่บัวทอง ผยองเหนือขุนห่าน ท่านรังก่อดินก่อฟ้า หน้าจตุรทิศ ไทมิตรดา มหากฤตราไตรอมไตยโลเกษ จงตรีศักดิท่าน พิญาณปรมาธิเบศ ไทธเรศสุรสิทธิพ่อ เสวยพรหมานทรใช่น้อย ประถมบุญภารดิเรก บูรภพบรู้กีร้อย ก่อมา แทงพระแสงศรพรหมมาศฯ
หน้าสอง
นานาเอนกน้าวเดิมกัลป์ จักรำ่จักราพาฬเมื่อไหม้
กล่าวถึงตรวันเจดอันพลุ่ง นำ้แล้งไข้ขอดหาย ฯ
เจดปลามันพุ่งหล้าเปนไฟ วาบจัตุราบายแผ่นขวำ้
ชักไตรตรึงษ์เปนผ้า แลบลำ้สีลอง ฯ
สามรรถณาณณครเพราะเกล้า ฝูงเทพนองบนปานเบียดแป้ง
สรลมเต็มพระสุธาวาศแห่งนั้น ฟ้าแจ้งจอดนิโรโธ ฯ
หน้าสาม
กล่าวถึงนำ้ฟ้าฟาดฟองหาว ดับเดโชฉำ่หล้า
ปลาดินดาวเดือนแอ่น ลมกล้าป่วนไปมา ฯ
แลเปนแผ่นเมืองอินทร์ เมืองธาดาแรกตั้ง
ขุนแผนแรกเอาดินดูที่ ทุกยั้งฟ้าก่อคืน ฯ
แลเปนสี่ปวงดิน เปนเขายืนทรงำ้หล้า
เปนเรือนอินทร์ถาเถือก เปนสร้อยฟ้าจึ่งบาน ฯ
หน้าสี่
จึ่งเจ้าตั้งผาเผือกผาเยอ ผาหอมหวานจึ่งขึ้น
หอมอายดินเลอก่อน สรดึ้นหมู่แมนมา ฯ
ตนเขาเรืองร่อนหล้าเลอหาว หาวันคืนไป่ได้
จาวชิมดินแสงหล่น เพียงดับใต้มืดมูล ฯ
ว่นว่นตาขอเรือง เปนพระสูริย์ส่องหล้า
เปนเดือนดาวเมืองฉำ่ เห็นฟ้าเห็นแผ่นดิน ฯ
หน้าห้า
แลมีคำ่มีวัน กินสาลีเปลือกปล้อน
บ่มีผู้ต้อนแต่งบรรณา เลือกผู้ยิ่งยศเปนราชาคร้าว
เรียกนามสมมติราชเจ้า จึ่งตั้งท้าวเจ้าแผ่นดิน ฯ
สมมติแกล้วตั้งอาทิตย์กัลป์ สายท่านทรงธรณินทร์เรื่อยหล้า
วันเสารวันอังคารวันไอยอาทิ กลอยแรกตั้งฟ้ากล่าวแช่งผี ฯ
เชียกบาศด้วยชันรอง ชื่อพระกรรมบดีปู่เจ้า
ท่านรังผยองมาแขก แรกตั้งขวัญเข้าธูปเทียน ฯ
หน้าหก
เหล็กกล้าหญ้าแพรกบั้นใบมะตูม เชียรเชียรใบบาตนำ้
โอมโอมภูมเทเวศ สืบคำ้ฟ้าเที่ยงเฮยยำ่เฮย ฯ
ผู้ใดเภทจงคด พาจกจากซึ่งหน้า
ถือขันสรดใบพลูตานเสียด หว้ายชั้นฟ้าคู่แมน
มารเฟยดไททศพลช่วยดู ไตรแดนจักรอยู่ค้อย
ธรรมารคประเตยกช่วยดู ห้าร้อยเทียรแมนเดียว ฯ
หน้าเจ็ด
อเนกถ่องพระสงฆ์ช่วยดู เขียวจรรยายิ่งได้
ขุนหงษ์ทองเกล้าสี่ช่วยดู ชรอำ่ฟ้าใต้แผ่นหงาย ฯ
ฟ้าพัดพรีใจยังช่วยดู ใจตายตนบใกล้
สี่ปวงผีหาวแห่งช่วยดู พื้นใต้ชื่อกามภูม ฯ
ฟ้าชรแร่งหกคลองช่วยดู ครูคลองแผ่นช้างเผือก
ผีกลางหาวหารแอ่นช่วยดู เสียงเงือกงูวางขึ้นลง ฯ
หน้าแปด
ฟ้ากระแฉ่นเรือนผยองช่วยดู เอาธงเปนหมอกหว้าย
เจ้าผาหลวงผากลายช่วยดู แสนผีพึงยอมท้าว ฯ
เจ้าผาดำผาเผือกช่วยดู หันย้าวปู่สมิงพลาย
เจ้าหลวงผากลายช่วยดู ฯ
ดีร้ายบอกคนจำ ผีพรายผีชรหมื่นคำช่วยดู
กำรูคลื่นเปนเปลว บ่ซื่อนำ้ตัดคอ ฯ
หน้าเก้า
ตัดคอเรวให้ขาด บ่ซื่อล้างออเอาใส่เล้า
บ่ซื่อนำ้อยาดท้องเปนรุง บ่ซื่อแล้งกาเต้าแตกตา ฯ
เจาะเพาะพุงใบแบ่ง บ่ซื่อหมาหมีหมูเข่นเขี้ยว
เขี้ยวชาชแวงยายี ยมราชเกี้ยวตาตาวช่วยดู ฯ
ชื่อทุณพีตัวโตรด ลมฝนฉาวทั่วฟ้าช่วยดู
ฟ้าจรโลดลิวขวาน ขุนกล้าแกล้วขี่ยูงช่วยดู ฯ
หน้าสิบ
เคล้าฟ้าเคลือกเปลวลาม สิบหน้าเจ้าอสุรช่วยดู
พระรามพระลักษณชวักอร แผนทูลเขาเงือกปลำ้ช่วยดู ฯ
ปลำ้เงี้ยวรอนราญรงค์ ผีดงผีหมื่นถำ้ ลำ้หมื่นผา มาหนนำ้หนบก ตกนอกขอกฟ้าแมน แดนฟ้าตั้งฟ้าต่อ หล่อหลวงเต้า ทังเหง้าภูตพนัศบดี ศรีพรหมรักษ ยักษกุมาร หลายบ้านหลายท่า ล้วนผีห่าผีเหว เรวยิ่งลมบ้า หน้าเท่าแผง แรงไกยเอาขวัญ ครั้นมาถึงถับเสียง เยียชรแรงชรแรง แฝงข่าวยินเยียชรรางชรราง รางชางจุบปากเยีย จเจียวเจียว เขี้ยวสรคาน อานมลิ้น เยียลลายลลายตราบมีในฟ้าในดิน บินมาเยีย
หน้าสิบเอ็ดพลุ่ง จุ่งมาสูบเอา เขาผู้บซื่อ ชื่อใครใจคด ขบถเกียจกาย ว่ายกทู้ฟาดพัน ควานแควนมัดสอก หอกดิ้นเด้าเท้าทก หลกเท้าให้ไปมิทันตาย หงายระงมระงม ยมพบาลลากไป ไฟนรกปลาบปลิ้นดิ้นพลาง เขาวางเหนืออพิจี ผู้บดีซี่อ ชื่อใครใจคด ขบถแก่เจ้า ผู้ผ่านเกล้าอยุธยา สมเดจพระรามาธิบดี ศรีสินทร บรมมหาจักรพรรดิศรราชาธิราช ท่านมีอำนาจมีบุญ คุณอเนก อันอาไศรยร่ม แลอาจข่มชัก หักกิ่งฆ่าอาจถอนด้วยฤทธานุภาพ บาปเบียนตนพันธุพวกพ้องญาติกามาไส้ ไขว้ใจจอดทอดใจรัก ชักเกลอสหาย ตนทั้งหลายมาเพื่อจะทำขบถ ทดโทรหแก่เจ้าตนไส้ จงเทพยาดาฝูงนี้ให้ตายในสามวัน อย่าให้ทันในสามเดือน อย่าให้เคลื่อนในสามบี อย่าให้มีศุขสวัสดิเมื่อใด อย่ากินเข้าเพื่อไฟจนตาย ฯ
หน้าสิบสอง
จงไปเปนเปลวปล่อง อย่าเอาไศรยแก่นำ้จนตาย
นำ้คลองกลอกเปนพิศม์ นอนเรือนคำรนคาจนตาย ฯ
คาบิดเปนตาวงุ้ม ลืมตาหงายสู่ฟ้าจนตาย
ฟ้ากะทุ่มทับลง ก้มหน้าลงแผ่นดินจนตาย
แล่งแผ่นดินปลงเอาชีพไป สีลองกินไฟต่างง้วน ฯ
จรเข้ริบเสือกัด หมีแรดถวัดแสนงขนาย หอกดาบปลายจักครอบ ใครต้องจอบจงตาย งูเงี้ยวพิศม์ทั้งหลายลุ่มฟ้า ตายตำ่หน้ายังดิน นรินทรหยาบไหล่หล้า ใครกวินซื่อแท้ผ่านฟ้า ป่าวอวยพร ฯ
หน้าสิบสาม
อำนาจแปล้เมือแมนอำมรสิทธิ มีศรีบุญพ่อก่อเศกเหง้า
ยศท้าวตริไตรจักร ใครซื่อเจ้าเติมนาง ฯ
มิ่งเมืองบุญศักดิ์แพร่ ใครซื่อรางควายทอง
เพิ่มช้างม้าแผ่วัวควาย ใครซื่อฟ้าสองย้าวเร่งยิน ฯ
เพรงรัตนพรายพรรณยื่น ใครซื่อสินเพตรา
เพิ่มเขาหมื่นมหาไชย ใครซื่อใครรักเจ้าจงยศ ฯ
หน้าสิบสี่
กลืนชนมาให้ยืนยิ่ง เทพายศร่มฟ้า
อย่ารู้ว่าอันตราย ได้ใจกล้าดังเพชร ฯ
ขจายขจรอเนกบุญ สมเด็จพระรามาธิบดี ศรีสินทรบรมมหา จักรพรรดิศรราชเรื่อยหล้า ศุขผ่านฟ้าเบิก สมบูรณ์พ่อสมบูรณ์ ฯ
เครดิต หนังสือ ANTHOLOGY OF ASEAN LITERATURES
หนังสือ พจนานุกรมฉบับราชบัณฑิตยสถาน พ.ศ. ๒๕๒๕
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น